ตูร์เดอฟรองซ์ (ฝรั่งเศส: Tour de France หมายถึง การท่องฝรั่งเศส) หรือบางครั้งเรียกว่า ลากรองด์บูกล์ (La Grande Boucle) และ เลอตูร์ (Le Tour) เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนถึงปัจจุบัน (เว้นการจัดแข่งขันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง)
ตูร์เดอฟรองซ์ เป็นการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลหนึ่งในสามรายการใหญ่ ที่จัดการแข่งขันในยุโรป รวมเรียกว่า แกรนด์ทัวร์ โดยอีกสองรายการคือ
จีโรดีตาเลีย (Giro d'Italia) จัดในอิตาลี ช่วงเดือนพฤษภาคม-ต้นมิถุนายน
วูเอลตาอาเอสปันญา (Vuelta a España) จัดในสเปน ช่วงเดือนกันยายน
การแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1903 เกิดขึ้นเนื่องจากการท้าทายกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ โลโต้ (L'Auto) มีนักแข่งเข้าร่วมจำนวนถึง 60 คน แต่สามารถเข้าเส้นชัยได้เพียง 21 คน ซึ่งกิตติศัพท์ของความยากลำบากในการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันนี้เป็นที่สนใจ และมีผู้ชมการแข่งขันช่วงสุดท้ายในกรุงปารีส ตามสองฟากถนนระหว่างทางราว 100,000 คน และกลายเป็นประเพณี ที่การแข่งขันทุกครั้งจะไปสิ้นสุดที่ประตูชัย จตุรัสเดอเลตวล ปารีส
ในปี ค.ศ. 1910 เริ่มมีการจัดเส้นทางแข่งขันเข้าไปในเขตเทือกเขาแอลป์ ปัจจุบันเส้นทางการแข่งขันจะผ่านทั้งเทือกเขาแอลป์ ทางตะวันออก และเทือกเขาพีเรนีสทางใต้ของฝรั่งเศส
การแข่งขันตูร์เดอฟรองซ์จะแบ่งเป็นช่วง (stage) เพื่อเก็บคะแนนสะสม ผู้ชนะในแต่ละช่วงจะได้รับเสื้อ (jersey) เพื่อสวมใส่ในวันต่อไป โดยมีสีเฉพาะสำหรับผู้ชนะในแต่ละประเภท คือ
สีเหลือง (maillot jaune - yellow jersey) สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด
สีเขียว (maillot vert - green jersey) สำหรับผู้ชนะในแต่ละสเตจ
สีขาวลายจุดสีแดง (maillot à pois rouges - polka dot jersey) สำหรับผู้ชนะในเขตภูเขา ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า จ้าวภูเขา King of the Mountains
สีขาว (maillot blanc - white jersey) สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด ที่อายุต่ำกว่า 25 ปี
สีรุ้ง (maillot arc-en-ciel - rainbow jersey) สำหรับผู้ชนะการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์โลก (World Cycling Championship) ซึ่งมีกฏว่าจะต้องใส่เสื้อนี้เมื่อแข่งขันในประเภทเดียวกับที่ผู้แข่งนั้นเป็นแชมป์โลกอยู่
เสื้อแบบพิเศษ สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด และชนะการแข่งขันช่วงย่อย และจ้าวภูเขา
แชมป์ตั้งแต่ปี 1990 - 2008
1990 >> Greg Lemond
1991 - 1995 >> มีเกล อินดูเรน
1996 >> บียานร์น รีส์
1997 >> แยน อุลริช
1998 >> มาร์โก แพนตานี
1999 - 2005 >> แลนซ์ อาร์มสตรอง
2006 >> โอสการ์ เปเรย์โร
2007 >> อัลเบอร์โต คอนทาดอร์
2008 >> การ์ลอส ซาสเตร้
le grand-père, le papi [papy]
>>ปู่, ตา
la grand-mère, la mamie [mamy]
>>ย่า, ยาย
les grands-parents
>>ปู่ย่า, ตายาย
le père, le papa
>>พ่อ
la mère, la maman
>>แม่
les parents
>>พ่อแม่
l'enfant [n.m. et n.f.]
>>ลูก, เด็ก
le fils
>>ลูกชาย
la fille
>>ลูกสาว, เด็กผู้หญิง
le garçon
>>เด็กผู้ชาย
le frère
>>พี่ชาย หรือ น้องชาย
le petit frère / le grand-frère
>>น้องชาย / พี่ชาย
la soeur
>>พี่สาว หรือ น้องสาว
la petite-soeur / la grand-soeur
>>น้องสาว / พี่สาว
les petits-enfants
>>หลาน (ของปู่ย่า, ตายาย)
le petit-fils
>>หลานชาย (ของปู่ย่า, ตายาย)
la petite-fille
>>หลานสาว (ของปู่ย่า, ตายาย)
l'oncle, le tonton
>>ลุง
la tante, la tata
>>ป้า
le neveu
>>หลานชาย (ของลุง, ของป้า)
la nièce
>>หลานชาย (ของลุง, ของป้า)
le cousin
>>ลูกพี่ลูกน้อง (ผู้ชาย)
la cousine
>>ลูกพี่ลูกน้อง (ผู้หญิง)
le mari
>>สามี
la femme
>>ภรรยา
le beau-père
>>พ่อตา, พ่อสามีหรือภรรยา
la belle-mère
>>แม่ยาย, แม่สามีหรือภรรยา
les beaux-parents
>>พ่อตาแม่ยาย, พ่อแม่สามีหรือภรรยา
le gendre
>>ลูกเขย
la belle-fille
>>ลูกสะไภ้
le beau-frère
>>พี่เขยหรือน้องเขย
la belle-soeur
>>พี่สะไภ้หรือน้องสะไภ้
Le français [ภาษาฝรั่งเศส]
La biologie [ชีวะ]
Les informetiques [คอม/เทคโนโลยี]
Le cours d'agriculture [เกษตร]
L'écriture thaïe [การเขียน]
Les sciences socials [สังคม]
éd. physique [พละ]
Les arts [ศิลปะ]
L’anglais [ภาษาอังกฤษ]
La chimie [เคมี]
Le buddhis [พระพุทธศาสนา]
Les maths [คณิตศาสตร์]
Le cours d’orientations [แนะแนว]
Les dessin [วิชาวาดรูป]
Le cours militaire [วิชาทหาร (รด.)]
Le cours discipline [อบรม]
Le cours d’hygiène [สุขศึกษา]
Le thaïe [ภาษาไทย]
La physique [ฟิสิกส์]
3.Belgique
4.Bulgarie
2.Sénégal
3.Togo
4.Maroc
5.Algérie
6.Niger
7.Tchad
8.Djibouti
9.Centrafrique
10.Zaïre
11.Rwanda
12.Burundi
13.Madagascar
14.Congo
15.Bénin
16.Guinée
17.Côte-d’lvoire
18.Burkina-Faso
19.Mali
20.Mauritanie
21.Gabon
2.Cambodoge
3.Viêt-Nam
Le Monument en France
Moulin Rouge
Le Moulin Rouge est un cabaret parisien construit en 1889 par Joseph Oller qui possédait déjà l'Olympia. Il est situé dans le quartier de Pigalle, sur le boulevard de Clichy dans le XVIIIe arrondissement, non loin de Montmartre.
Son style et son nom ont été imités et empruntés par d'autres cabarets du monde entier.
Moulin Rouge หรือโรงสีข้าวกังหันแดง ความสูงของหลังคาพอ ๆ กับของตัวอาคาร ทางเข้าเป็นประตูบานเดียวด้านหน้า แนวเดียวกับกังหันลมขนาดใหญ่ พลังลมทำให้กังหันยักษ์หมุน พลังงานที่เกิดจากการหมุนขับเคลื่อนอุปกรณ์สีเปลือกออกจากเม็ดข้าว ดังนั้น un moulin คือ โรงสีข้าวพลังลมนั่นเอง
โรงละครคาบาเร่ต์ ตัวอาคารเป็นโรงสีมีกังหันขนาดใหญ่ ประดับหลอดไฟนีออนสีแดง ทำให้ลูกค้ามองเห็นแต่ไกล ที่โรงละครแห่งนี้มีระบำฝรั่งเศสที่แรกเริ่มเดิมที คนฝรั่งเศสปลื้มนัก คือ ระบำ Cancan (ระบำแคนแคน) หรือ «coincoin» ตอนต้นศตวรรษที่ 19 นักระบำคนหนึ่งคิดค้นเสตปการเต้นคู่ชายหญิง ซึ่งประยุกต์มาจากการเต้นแบบหนึ่งของประเทศอังกฤษ และตั้งชื่อว่า «chachut» เจ้าหน้าที่บ้านเมืองและบรรดาผู้เคร่งศาสนาหัวอนุรักษ์นิยมต่างไม่พอใจการเต้นแบบนี้ เพราะคู่เต้นรำฝ่ายหญิง ซึ่งสวมชุดกระโปรงยาวช่วงบนรัดแนบลำตัวแล้วผายออกตั้งแต่ช่วงเอวลงไป กระโปรงพองฟูคล้ายผลฟักทอง ใต้กระโปรงเป็นสุ่มซ้อนหลาย ๆ คุณเธอจะสวมกางเกงชั้นในซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายดัดแปลงมาจากกางเกงกระโปรงสำหรับขี่ม้าหรือเล่นกีฬา โดยตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายเนื้อนิ่มยาวจากเอวลงมาห่างจากเข่าประมาณคืบหนึ่ง เมื่อเต้นมาถึงเสตปที่กำหนด นักเต้นสาวจะยกชายกระโปรงขึ้น เผยให้เห็นขาอ่อนในถุงน่องเนื้อหนาสีขาวสะอาด กระโปรงซับในทิ้งตัวลงมาเป็นช่อชั้นคล้ายกลีบดอกไม้ที่อัดซ้อนกันแน่น เกสรดอกไม้คือกางเกงชั้นในวับ ๆ แวม ๆ เซ็กซี่ไม่หยอก ต่อมารูปแบบการเต้นระบำแคนแคน ถูกปรับเปลี่ยนจากการเต้นคู่ชายหญิงเป็นการเต้นของสาว ๆ เท่านั้น นับเป็นข้อดีที่ทำให้ระบำชุดนี้รักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ได้ครบถ้วน เมื่อมองดูการเต้นรำแบบนี้ การเต้นรำที่เน้นการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วพร้อมเพรียงกัน และขายจินตนาการจากความเซ็กซี่เล็ก ๆ ของนักเต้นสาว ๆ ในจังหวะที่พวกเธอยกชายกระโปรง ยกขาตามขึ้นมาแล้วเตะขาท่อนล่างไปข้างหน้า ดึงกลับเข้ามา ทำซ้ำ ๆ กัน ทั้งนี้ ความสมดุลและความเป็นหนึ่งเดียวกันของผู้เต้นทุกคน ความเพียรพยายามประกอบกับการซ้อมอย่างหนักเป็นหัวใจสำคัญของการเต้นชุดนี้ Philippe Musard คือชื่อของผู้ริเริ่มระบำชุดนี้ น่าแปลก รูปแบบการเต้นเสี่ยงศีลธรรมและมาตรฐานสังคมกลับเปิดแสดงครั้งแรกในงานเต้นรำ Carnaval de Paris เรียกการเต้นแบบนี้ว่า « Nini Pattes en l?air » ว่า le quadrille
ระบำแคนแคนแพร่หลายออกไปในวงกว้าง คณะแคนแคนที่คนส่วนใหญ่รู้จักคือคณะ La Goulue ซึ่ง Jane Avril นำมาเปิดแสดงที่ร้านชื่อ Moulin Rouge ไม่ว่าเรื่องราวกำเนิดของระบำแคนแคนจะเป็นอย่างไร มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าระบำแคนแคนเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษ อีกทั้งระบำชุดดังกล่าวปรากฏตัวในวงการบันเทิงของฝรั่งเศสอย่างเต็มภาคภูมิ เมื่อผู้ประพันธ์เพลงโอเปร่า Jacques Offenbach นำมาเป็นส่วนหนึ่งของละครโอเปร่าขนาด 2 องค์ 4 ฉาก (un opéra-bouffe en deux actes, quatre tableaux) เรื่อง Orphée aux Enfers ซึ่งจัดแสดงที่ Théâtre des Bouffes-Parisiens กรุงปารีส เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 1858 และอีกครั้งที่โรงละคร Théâtre de la Gâté เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 1874 เป็นละครแบบ 4 องค์ 12 ฉาก (en quatre actes et douze tableaux) เรื่องราวมากมาย บุคคลหลากหลาย กาลเวลายาวนาน ทั้งหมดหลอมรวมเป็นการแสดงที่เรารู้จักดีทุกวันนี้ แม้จะเป็นย่านร้อนแรงคาวโลกีย์ ก็มีคนปรารถนาจะสัมผัส ให้ได้ชื่อว่าครั้งหนึ่งตนเคยเข้าไปในสถานบันเทิงชื่อ Moulin Rouge